ทำไมเดือนกุมภาพันธ์มี 28 หรือ 29 วัน
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่น่ารักทุกๆท่าน
เข้า เรื่องเลยนะครับ เคยสงสัยไหมครับว่าทำไมเดือนกุมภาพันธ์ถึงมี 29 วัน ถ้าเกิดสงสัยวันนี้ผมมีคำตอบมาบอกครับ แต่มันอาจจะไม่ได้ถูกต้องมากนักนะครับ เพราะผมหาบทความหรือเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ได้ในชนิดที่น้อยมากๆ แทบจะหาไม่ได้เลยดีกว่า
คำว่ากุมภาพันธ์นั้น ในภาษาอังกฤษมีชื่อว่า February ซึ่งเป็นชื่อเทพเจ้าองค์หนึ่งของชาวอิตาเลียนโบราณครับ เล่ากันว่าเทพเจ้าองค์นี้มีพระนามว่า “Februus” หรืออีกชื่อหนึ่งคือ “Februa” เทพองค์นี้เป็นตัวแห่งความตายและความบริสุทธิ์ ว่ากันว่าเทพองค์นี้ยังเป็นสัญลักษณ์แห่งการเฉลิมฉลองด้วยครับ จึงไม่แปลกใจเลยที่เดือนนี้จะเป็นเดือนที่มีการจัดเทศการเฉลิมฉลองกรุงโรม แล้วก็แต่เดิมนั้นปฏิทินโรมันจะมีเพียงแค่ 10 เดือน (304 วัน) โดยจะนับเอาเดือนมีนาคมเป็นเริ่มต้นปีใหม่ครับ (ไม่มีเดือนในช่วงฤดูหนาวนะครับ) ใน 10 เดือนที่ว่านี้ได้แก่เดือน Martius, Aprilis, Maius, Junius, Quintilis, Sextilis, September, October, November และ December ปฏิทินนี้เป็นที่รู้จักและใช้ต่อกันเรื่อยมาจนถึงประมาณ 738 ปีก่อนคริสตกาลครับ
จากนั้นเดือน January และ February ก็ได้ถูกทำการเพิ่มขึ้นโดยกษัตริย์โรมันนามว่า Numa ครับ เพื่อให้จำนวนวันที่หายไปนั้นได้ครบถ้วนสมบูรณ์ ตรงนี้เองครับที่ทำให้เดือน October กระเด็นไปอยู่เดือนที่สิบ (อันที่จริงแล้ว Oct แปลว่าแปดนะครับ)
ต่อ มาก็คือปฏิทินจูเลียตที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้นั้นได้ถูกสร้างขึ้นโดย Julius Caesar ซึ่งเป็นผู้นำคนใหม่ของโรมันครับ ผู้นำโรมันคนนี้ได้เล็งเห็นถึงความผิดปกติและความไม่ถูกต้องของปฏิทินจึงได้ ทำการสั่งให้เลิกทำการคำนวณเดือนจากการนับดวงจันทร์เหมือนที่เคยใช้กันมา แต่เดิมนั้นใช้ระบบดวงจันทร์ คืออาศัยข้างขึ้น ข้างแรมสังเกตความเปลี่ยนแปลงของดวงจันทร์ พอหมดข้างแรมทีนึงก็นับเป็นหนึ่งเดือนพร้อมกับได้เปลี่ยนไปใช้วันที่ 1 ของเดือน January เป็นวันแรกของปี อีกทั้งผู้นำโรมันคนนี้ยังได้ทำการเปลี่ยนชื่อเดือน Quintilis เป็น July ซึ่งมาจากคำว่า Julius Caesar เพื่อเป็นเกียรติให้แก่ตัวเอง และนอกจากนี้ปฏิทินจูเลียตยังได้กำหนดเอาไว้อีกว่าให้เดือนคี่มี 31 วัน เดือนคู่มี 30 วัน ยกเว้นเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในปีปกติสุรทิน และมี 30 วันในปีอธิกสุรทิน (คำว่า ปีปกติสุนทิน หมายความว่าเป็นปีปฏิทินที่มีจำนวนวัน 365 วัน และ ปีอธิกสุรทิน หมายความว่าเป็นปีปฏิทินที่มีจำนวนวัน 366 วันครับ)
ต่อมาในยุคสมัย ของกษัตริย์ Augustus Caesar ไม่พอใจที่เดือนเกิดของตนเองซึ่งเป็นเดือน 8 เป็นเดือนคู่แต่มีเพียงแค่ 30 วัน จึงได้ทำการดึงวันออกจากเดือน February ออกมา 1 วัน แล้วนำมาใส่ในเดือนเกิดของตนเอง และได้ทำการเปลี่ยนชื่อเดือนเกิดของตนเองเจาก Sextilis เป็น August จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเดือน August ถึงมี 31 วัน และทำไมเดือน February จึงเหลือ 28 หรือ 29 วันนั่นเองครับ
ท่านผู้อ่านครับ ประเทศไทยของเรานั้นเริ่มใช้ชื่อเดือนกุมภาพันธ์ในปี พ.ศ. 2532 ซึ่งตรงกับรัชกาลที่ 5 โดนที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้จักรราศีเป็นตัวกำหนดชื่อเดือน
เดือนทั้ง 12 นั้นจะประกอบไปด้วย
January 31 วัน
February 28 วัน
March 31 วัน
April 30 วัน
May 31 วัน
June 30 วัน
July 31 วัน
August 31 วัน
September 30 วัน
October 31 วัน
November 30 วัน
December 31 วัน
รวม 12 เดือน 365 วัน
แต่ท่านผู้อ่านครับ ระยะเวลาที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบนั้นเท่ากับ 365.24224 วัน ครับ ถ้า
ในปีไหนที่เดือน February มี 28 วันแล้วล่ะก็ ปีนั้นจะมีจำนวนวัน 365 วัน ซึ่งจะขาดไป 0.24224 วัน
ในปีไหนที่เดือน February มี 29 วันแล้วล่ะก็ ปีนั้นจะมีจำนวนวัน 366 วัน ซึ่งจะเกินไป 0.24224 วัน
ดัง นั้นเพื่อที่จะให้ง่ายต่อการเพิ่มหรือว่าลดระยะเวลาที่ขาดหายหรือมากเกินไป นั้น จึงได้มีการกำหนดให้ปีที่มี 365 วัน ซึ่งจะขาดไป 0.24224 วัน นำไปทดไว้จนครบ 4 ปีก็จะได้วันเพิ่มมาอีก 1 วันนั่นเองครับ ส่วนการคำนวณหาว่าปีไหนจะเป็นปีที่มีเดือน February 29 วัน ก็ให้นำปี ค.ศ. มาตั้งแล้วหารด้วย 4 ถ้าเกิดว่าหารลงตัวไม่มีเศษแล้วล่ะก็ปีนั้นจะเป็นปีที่เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น